กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเทศสมาชิกไอพีอีเอฟ
การประชุมสุดยอดเกี่ยวกับการเปิดตัวกรอบความร่วมมือฯ ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2565

กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก หรือ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรือง (อังกฤษ: Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity) หรือ ไอพีอีเอฟ (IPEF) เป็นโครงการริเริ่มทางเศรษฐกิจที่เปิดตัวโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดิน แห่งสหรัฐ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[1][2] พร้อมกับอีกสิบสามประเทศ และคำเชิญอย่างเปิดเผยสำหรับประเทศอื่น ๆ ให้เข้าร่วมเมื่อใดก็ได้ในอนาคต

ไบเดินกล่าวถึงกรอบความคิดริเริ่มนี้ว่า "เป็นการเขียนกฎใหม่สำหรับเศรษฐกิจศตวรรษที่ 21" โดยระบุว่าข้อตกลงนี้จะทำให้เศรษฐกิจของผู้เข้าร่วม "เติบโตเร็วขึ้นและยุติธรรมขึ้น" และจีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวต่ออีกว่ากรอบการทำงานดังกล่าวเป็น "การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุดที่สหรัฐเคยมีในภูมิภาคนี้"[3][4] อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ได้เปรียบเทียบความร่วมมือนี้กับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) ที่สหรัฐถอนตัวออกไปในปี 2560

กรอบความร่วมมือนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการลดอัตราภาษีอากร แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการเจรจาในภายหลัง[5] ภายใต้หลักการ 4 ประการ ได้แก่[6]

  1. การค้าที่ยุติธรรมและยืดหยุ่น
  2. ความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน
  3. โครงสร้างพื้นฐาน พลังงานสะอาด และการลดคาร์บอน
  4. ภาษีและการต่อต้านการทุจริต

ประเทศสมาชิก[แก้]

ในปัจจุบัน ไอพีอีเอฟมีประเทศสมาชิก 14 ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 40 ของจีดีพีโลก[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Liptak, Kevin (2022-05-23). "Biden unveils his economic plan for countering China in Asia | CNN Politics". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
  2. 2.0 2.1 "FACT SHEET: In Asia, President Biden and a Dozen Indo-Pacific Partners Launch the Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity". whitehouse.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-05-23. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
  3. Biden to Begin New Asia-Pacific Economic Bloc With a Dozen Allies, New York Times, May 23, 2022
  4. In Tokyo, Biden set to launch new Indo-Pacific trade pact to replace TPP, Marketwatch
  5. Joe Biden waters down Indo-Pacific Economic Framework to win more support, Financial Times
  6. "Statement on Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity". The White House (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-05-23. สืบค้นเมื่อ 2022-05-28.
  7. Manager, Ritika Pratap Deputy News. "Fiji joins Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity". Fiji Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2022-05-27.