จักรพรรดิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะแห่งญี่ปุ่น จักรพรรดิเพียงพระองค์เดียวในปัจจุบัน

จักรพรรดิ (อังกฤษ: Emperor) หรือ พระราชาธิราช หมายถึง ประมุขชายผู้เป็นเจ้าครองจักรวรรดิ

รัฐหรืออาณาจักร (kingdom) ที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยการปกครองอันเดียวกัน เช่น จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิเยอรมัน อันประกอบด้วยหลายชนชาติ แต่ละชนชาติจะมีพระมหากษัตริย์ของตนเองปกครองอยู่ด้วย จึงอาจพูดได้ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิคือกษัตริย์ผู้ปกครองกษัตริย์ หากเป็นสตรีเรียกว่า จักรพรรดินีนาถ (Empress Regnant) สำหรับพระมเหสีของจักรพรรดิจะเรียกว่า “จักรพรรดินี” (Empress Consort) ส่วนสำหรับพระสวามีของจักรพรรดินีนาถจะเรียกว่า “เจ้าชายพระราชสวามี” (Price Consort)” โดยทั่วไปถือกันว่า “จักรพรรดิ” มีฐานันดรสูงกว่า “พระราชา

ข้อแตกต่างระหว่างจักรพรรดิกับประมุขแบบอื่น[แก้]

ทั้งกษัตริย์และจักรพรรดิ ต่างเป็นพระประมุขของรัฐเหมือนกัน ยังไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวที่บ่งบอกถึงความแตกต่างในฐานันดรทั้งสองประเภทนี้โดยชัดเจน แต่ก็มีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวของได้แก่ การตีความของนักประวัติศาสตร์ ขนาดและลักษณะของอาณาจักรที่ทรงปกครอง และชื่อตำแหน่งที่ราชวงศ์นั้น ๆ เลือกที่จะเรียกตนเอง ลักษณะเฉพาะที่อาจนับเป็นปัจจัยให้ใช้ฐานันดรจักรพรรดิอาจสรุปได้หลายทางดังนี้

การเลือกใช้ชื่อตำแหน่งโดยพระราชาได้กลายเป็นแนวคิดที่ต่างไปจากเดิมในภาษาอังกฤษ กล่าวคือความต่างที่ว่าพระราชาควรเป็นพระมหากษัตริย์หรือเป็นพระจักรพรรดิไม่ได้กำหนดไว้ตายตัวอีกต่อไป ต่างจากตำแหน่งพระราชาที่เป็น ฟาโรห์ เคาะลีฟะฮ์ สุลต่าน หรือข่าน ซึ่งยังมีการกำหนดแยกชัดเจนอยู่

จักรพรรดิในโลกตะวันตกและตะวันออก[แก้]

ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีการใช้ฐานันดรพระราชาในระดับ “จักรพรรดิ” ทั้งในโลกซีกตะวันตกซึ่งเริ่มจากยุคโรมันและต่อด้วยยุคคริสเตียน ทางซีกโลกตะวันออกมีประเพณีที่แตกต่างจากตะวันตก ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ทั้งจีนและญี่ปุ่นอ้างความเป็นจักรพรรดิว่าสืบเชื้อสายมาจากสรวงสวรรค์ เจงกิสข่านถือว่าพระองค์ได้อำนาจจากธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ จักรพรรดิญี่ปุ่นสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์

รายพระนามของจักรพรรดิ[แก้]

จักรพรรดิโดยการเป็นจักรวรรดิแบบทั่วไป[แก้]

จักรวรรดิโบราณ[แก้]

สมัยกลาง[แก้]

ภาพโมเสกแสดงจักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ประทับยืนกลาง ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6
ประเพณีตะวันตกและไบแซนไทน์[แก้]
อื่น ๆ[แก้]

สมัยใหม่[แก้]

วิลเฮ็ล์มที่ 1, ฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1, อะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งสันนิบาตสามจักรพรรดิ
วิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี, นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย
วิลเฮ็ล์มที่ 2, เมห์เหม็ดที่ 5, ฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 สามจักรพรรดิของฝ่ายมหาอำนาจกลาง
นิโคลัสที่ 2 จักรพรรดิแห่งรัสเซีย, จอร์จที่ 5 จักรพรรดิแห่งอินเดีย

สมัยปัจจุบัน[แก้]

รูปภาพ[แก้]

จักรพรรดิยุโรป[แก้]

จักรพรรดิอเมริกา[แก้]

จักรพรรดิแอฟริกา[แก้]

จักรพรรดิเอเชีย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
บรรณานุกรม
  • ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4
  • ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 438 หน้า. ISBN 978-616-7073-74-3

ดูเพิ่ม[แก้]