ช็อก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช็อก
(Shock )
A non-pneumatic anti-shock garment (NASG)
สาขาวิชาCritical care medicine
อาการInitial: Weakness, fast heart rate, fast breathing, sweating, anxiety, increased thirst[1]
Later: Confusion, unconsciousness, cardiac arrest[1]
ประเภทLow volume, cardiogenic, obstructive, distributive[2]
สาเหตุLow volume: Bleeding, vomiting, pancreatitis[1]
Cardiogenic: heart attack, cardiac contusion[1]
Obstructive: Cardiac tamponade, tension pneumothorax[1]
Distributive: Sepsis, spinal cord injury, certain overdoses[1]
วิธีวินิจฉัยBased on symptoms, physical exam, laboratory tests[2]
การรักษาBased on the underlying cause[2]
ยาIntravenous fluid, vasopressors[2]
พยากรณ์โรคเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 20 ถึง 50%[3]
ความชุก1.2 ล้านต่อปี (สหรัฐ)[3]

ภาวะช็อก (อังกฤษ: shock, circulatory shock) เป็นภาวะทางการแพทย์ซึ่งอันตรายและมีอันตรายถึงชีวิต เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ[4] ในระยะแรกส่วนใหญ่ทำให้มีระดับออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ ไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้ทำงานได้ไม่ปกติ[5] ทั้งนี้เมื่อพิจารณาว่าการลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ อาศัยเลือด การลดลงของการไหลของเลือดจึงทำให้การนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆ ลดลงไปด้วย จึงเป็นสาเหตุที่สำคัญสาเหตุหนึ่งของช็อก

ภาวะช็อกถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญที่สุดสาเหตุหนึ่งในผู้ป่วยหนัก ผลของภาวะช็อกมีหลายอย่าง ทั้งหมดสัมพันธ์กับภาวะซึ่งระบบไหลเวียนโลหิตทำหน้าที่ได้ไม่เพียงพอ เช่น อาจทำให้มีออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือหัวใจหยุดเต้นได้[6][7][8][9][10][11][12]

อาการแสดงที่สำคัญของภาวะช็อกคือหัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ซึ่งเป็นกลไกตอบสนองทดแทนความบกพร่องของระบบไหลเวียน ความดันเลือดต่ำ และอาการแสดงของความไม่เพียงพอของการกำซาบที่อวัยวะส่วนปลาย (ภาวะซึ่งอวัยวะต่างๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการจนสูญเสียการทำงาน) เช่น ปัสสาวะออกน้อย (ไตทำงานลดลง) สับสนหรือซึมลง (สมองทำงานลดลง) เป็นต้น ทั้งนี้มีหลายภาวะที่ความดันเลือดของผู้ป่วยอาจปกติ แต่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ยังได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ถือว่าอยู่ในภาวะช็อก ดังนั้นผู้ป่วยช็อกไม่จำเป็นต้องมีความดันเลือดต่ำเสมอไป[13]

อันตรายอย่างหนึ่งของภาวะช็อกคือกลไกป้อนกลับทางบวกซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องสามารถทำให้ภาวะช็อกที่เป็นอยู่แล้วนั้นแย่ลงไปอีกได้ เมื่อร่างกายเกิดภาวะช็อกขึ้นแล้วไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมหรือทันเวลา มักจะแย่ลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นการรักษาที่ทันท่วงทีจึงมีความสำคัญมาก[13]

ภาวะช็อกทางการแพทย์นั้นหมายถึงภาวะซึ่งเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอดังกล่าว ซึ่งแตกต่างและไม่ควรสับสนกับภาวะช็อกทางอารมณ์ โดยภาวะทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์กันโดยตรงแต่อย่างใด

อาการและอาการแสดง[แก้]

อาการของผู้ป่วยช็อกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยสังเกตได้ยากเช่นอาการสับสนหรืออ่อนแรงเป็นต้น[14] แต่โดยทั่วไปแล้วอาการแสดงที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยภาวะช็อกทุกประเภทคือการมีความดันเลือดต่ำ ปัสสาวะอกน้อย และสับสน ซึ่งก็ไม่จำเป็นจะต้องพบในผู้ป่วยช็อกทุกคน[14] แม้อาการชีพจรเร็วจะพบได้บ่อย แต่ผู้ป่วยที่ใช้ยาเบตาบล็อกเกอร์ ผู้ป่วยที่เป็นนักกีฬามีร่างกายแข็งแรงมาก และผู้ป่วยช็อกจากการเสียเลือดในช่องท้อง 30% อาจมีอัตราเต้นของหัวใจปกติหรือค่อนข้างต่ำได้[15] ช็อกบางประเภทอาจมีอาการจำเพาะของประเภทนั้นๆ ได้

ช็อกจากการขาดสารน้ำ[แก้]

การจำแนกระดับความรุนแรงของการเสียเลือด[16]
ประเภทที่ เลือดที่เสีย การตอบสนองของร่างกาย การรักษา
I <15 %(0.75 l) เล็กน้อย, อาจมีหัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดปกติ เล็กน้อย
II 15-30 %(0.75-1.5 l) ชีพจรเร็ว ความดันเลือดต่ำ ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
III 30-40 %(1.5-2 l) ชีพจรเร็วมาก ความดันเลือดต่ำ ความรู้สึกตัวลดลง ให้สารน้ำและเลือด
IV >40 %(>2 l) ชีพจรและความดันเลือดระดับวิกฤต ให้การรักษาอย่างรุนแรง

ภาวะช็อกที่เกิดจากการลดลงของปริมาตรเลือดยังผล ทำให้มีอาการได้ดังนี้

  • ชีพจรเบา เร็ว เนื่องจากมีปริมาตรเลือดลดลงและหัวใจเต้นเร็ว
  • ผิวหนังแห้ง เย็น เนื่องจากมีการหดตัวของหลอดเลือดฝอยผิวหนัง
  • หายใจตื้นและเร็วเนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติกถูกกระตุ้นและมีภาวะเลือดเป็นกรด
  • อุณหภูมิกายต่ำเนื่องจากการกำซาบลดลงและมีการเสียความร้อนไปทางเหงื่อ
  • กระหายน้ำ ปากแห้ง เนื่องจากสารน้ำในร่างกายลดลง
  • ผิวเย็นและเป็นลาย (cutis marmorata) โดยเฉพาะแขนขา เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงผิวหนังได้ไม่เพียงพอ

ความรุนแรงของภาวะช็อกที่เกิดจากการขาดสารน้ำหรือเลือดสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ตามอาการแสดงทางกาย ซึ่งสามารถนำไปประเมินปริมาณของสารน้ำที่สูญเสียไปได้

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 International Trauma Life Support for Emergency Care Providers (8 ed.). Pearson Education Limited. 2018. pp. 172–73. ISBN 978-1292-17084-8.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ATLS – Advanced Trauma Life Support – Student Course Manual (10 ed.). American College of Surgeons. 2018. pp. 43–52, 135. ISBN 978-78-0-9968267.
  3. 3.0 3.1 Tabas, Jeffrey; Reynolds, Teri (2010). High Risk Emergencies, An Issue of Emergency Medicine Clinics (E-book). Elsevier Health Sciences. p. 58. ISBN 978-1455700257.
  4. [1]. Courtney M. Townsend,SABISTON TEXTBOOK OF SURGERY,16TH EDITION,page no-381
  5. Kumar, Vinay; Abbas, Abul K.; Fausto, Nelson; & Mitchell, Richard N. (2007). Robbins Basic Pathology (8th ed.). Saunders Elsevier. pp. 102-103 ISBN 978-1-4160-2973-1
  6. Irwin, Richard S.; Rippe, James M. (2003). Intensive Care Medicine. Lippincott Williams & Wilkins, Philadelphia & London. ISBN 0-7817-3548-3.
  7. Marino, Paul L. (2006). The ICU Book. Lippincott Williams & Wilkins, Philadelphia & London. ISBN 0-7817-4802-X.
  8. "Fundamental Critical Care Support, A standardized curriculum of Critical Care". Society of Critical Care Medicine, Des Plaines, Illinois. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  9. Harrison's Principles of Internal Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-04. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  10. "Cecil Textbook of Medicine".
  11. The Oxford Textbook of Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-23. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  12. Shock: An Overview เก็บถาวร 2017-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน PDF by Michael L. Cheatham, MD, Ernest F.J. Block, MD, Howard G. Smith, MD, John T. Promes, MD, Surgical Critical Care Service, Department of Surgical Education, Orlando Regional Medical Center Orlando, Florida
  13. 13.0 13.1 Guyton, Arthur; Hall, John (2006). "Chapter 24: Circulatory Shock and Physiology of Its Treatment". ใน Gruliow, Rebecca (บ.ก.). Textbook of Medical Physiology (11th ed.). Philadelphia, Pennsylvania: Elsevier Inc. pp. 278–88. ISBN 978-0-7216-0240-0.
  14. 14.0 14.1 Tintinalli, Judith E. (2010). Emergency Medicine: A Comprehensive Study Guide (Emergency Medicine (Tintinalli)). New York: McGraw-Hill Companies. pp. 165–172. ISBN 978-0-07-148480-0.
  15. Tintinalli, Judith E. (2010). Emergency Medicine: A Comprehensive Study Guide (Emergency Medicine (Tintinalli)). New York: McGraw-Hill Companies. pp. 174–175. ISBN 0-07-148480-9.
  16. Tintinalli, Judith E. (2010). Emergency Medicine: A Comprehensive Study Guide (Emergency Medicine (Tintinalli)). New York: McGraw-Hill Companies. ISBN 0-07-148480-9.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก