นครภายใต้มณฑล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นคร
[หมายเหตุ 1]
นครแสดงด้วยพื้นที่สีม่วง
หมวดหมู่นครปกครองโดยตรง เทศมณฑล และนครภายใต้มณฑล
ที่ตั้งพื้นที่เสรีของสาธารณรัฐจีน
จำนวน3 (ณ 2019)
ประชากร267,772–448,207
พื้นที่60–133 ตร.กม.
การปกครอง
  • องค์การบริหารนคร
  • สภานคร
หน่วยการปกครองเขต

นคร[หมายเหตุ 1] เดิมเรียกว่า นครภายใต้มณฑล เป็นหน่วยการปกครองประเภทหนึ่งของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)[1]

ประวัติ[แก้]

เขตการปกครองที่เรียกว่า "นคร" ในไต้หวันได้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในทศวรรษ 1920 ระหว่างที่อยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ในเวลานั้น นครต่าง ๆ อยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัด หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นครที่อยู่ภายใต้จังหวัดจำนวน 9 แห่งจากทั้งหมด 11 แห่งที่จัดตั้งโดยรัฐบาลญี่ปุ่น ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบเป็นนครที่อยู่ภายใต้มณฑล การอ่านชื่อของนครต่าง ๆ ได้เปลี่ยนจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาจีนกลาง โดยยังคงตัวอักษรจีนของญี่ปุ่นไว้

การเปลี่ยนแปลงการสะกดชื่อของนครภายใต้มณฑลในปี 1945
ตัวอักษร ภาษาญี่ปุ่น
(ก่อนปี 1945)
ภาษาจีน
(หลังปี 1945)
ตัวอักษร ภาษาญี่ปุ่น
(ก่อนปี 1945)
ภาษาจีน
(หลังปี 1945)
臺北 ไทโฮกุ
Taihoku
ไถเป่ย์
Taipei
嘉義 คางิ
Kagi
เจียอี้
Chiayi
基隆 คีรุง
Kīrun
จีหลง
Keelung
臺南 ไทนัง
Tainan
ไถหนาน
Tainan
新竹 ชินจิกุ
Shinchiku
ซินจู๋
Hsinchu
高雄 ทากาโอะ
Takao
เกาสยง
Kaohsiung
臺中 ไทจู
Taichū
ไถจง
Taichung
屏東 เฮโต
Heitō
ผิงตง
Pingtung
彰化 โชกะ
Shōka
จางฮว่า
Changhua

การเปลี่ยนแปลงเป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งนคร (市組織法) ของสาธารณรัฐจีน ซึ่งกฎหมายนี้ออกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เกณฑ์ในการจัดตั้งเป็นนครภายใต้มณฑล ได้แก่ เมืองที่เป็นเมืองหลวงของมณฑล หรือมีประชากรมากกว่า 200,000 คน หรือมากกว่า 100,000 คน หากเมืองนั้นมีความสำคัญในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงระบบการแบ่งเขตการปกครองในปี 1945 นั้น ได้มีการอะลุ่มอล่วยระหว่างระบบของญี่ปุ่นกับระบบของจีน นครที่มีประชากรไม่ถึงเกณฑ์บางแห่งก็ยังสามารถจัดตั้งเป็นนครภายใต้มณฑล

ChiayiHsinchuKeelungPingtung CityKaohsiungTainanChiayiChanghuaTaichungHsinchuKeelungTaipei

หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐจีนย้ายที่ตั้งไปอยู่ที่ไทเป มณฑลไต้หวันในปี 2492 เกณฑ์จำนวนประชากรในการจัดตั้งนครภายใต้มณฑลก็ได้เพิ่มขึ้นเป็น 500,000 คน ตาม โครงร่างการปกครองท้องถิ่นของเทศมณฑลและนครในมณฑลไต้หวัน (臺灣省各縣市實施地方自治綱要) ซึ่งบังคับใช้ในปี 1981 ต่อมาได้เพิ่มขึ้นอีกเป็น 600,000 คน หลังจากการปรับปรุงการบริหารของมณฑลให้คล่องตัวขึ้นในปี 1998 ทำให้นครภายใต้มณฑลทั้งหมดอยู่ภายใต้การปกครองรัฐบาลกลางโดยตรง และเปลี่ยนชื่อเรียกให้สั้นลงว่า นคร

สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่อ้างสิทธิ์ไต้หวันเป็นมณฑลที่ 23 ได้กำหนดประเภทให้นครภายใต้มณฑลทั้งหมดในไต้หวันมีสถานะเป็นนครระดับอำเภอ

ปี-เดือน-วัน จัดตั้งเพิ่ม ถอดถอน จำนวน คำอธิบาย
1945-10 จางฮว่า, เจียอี้, ซินจู๋,
เกาสฺยง, จีหลง, ผิงตง, ไถจง, ไถหนาน, ไทเป[2]
9 จัดระเบียบใหม่จากเดิมเป็นนครภายใต้จังหวัดระหว่างที่อยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น
1950-08-16 เจียอี้ 8 ยุบรวมเข้ากับเทศมณฑลเจียอี้ และกลายเป็นนครภายใต้เทศมณฑล
1951-12-01 จางฮว่า, ซินจู๋, ผิงตง 5 ลดฐานะลงเป็นนครภายใต้เทศมณฑล
1967-07-01 ไทเป 4 ยกฐานะขึ้นเป็นนครปกครองโดยตรง
1979-07-01 เกาสฺยง 3 ยกฐานะขึ้นเป็นนครปกครองโดยตรง
1982-07-01 เจียอี้, ซินจู๋ 5 ยกฐานะขึ้นจากเดิมเป็นนครภายใต้เทศมณฑล
2010-12-25 ไถจง, ไถหนาน 3 ยุบรวมเข้ากับเทศมณฑลไถจง และเทศมณฑลไถหนาน และยกฐานะขึ้นเป็นนครปกครองโดยตรง
นครในปัจจุบัน: เจียอี้, ซินจู๋, จีหลง (3)

นครในปัจจุบัน[แก้]

ในปัจจุบัน รัฐบัญญัติการปกครองท้องถิ่นของกระทรวงมหาดไทยไต้หวันมีผลบังคับใช้ในการจัดตั้งนคร ซึ่งนครจำเป็นต้องมีประชากรระหว่าง 500,000 ถึง 1,250,000 คน และมีบทบาทสำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม[3] โดยทั้งนครทั้ง 3 แห่งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่มีคุณสมบัติในด้านจำนวนประชากร แต่ได้รับการจัดตั้งด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์

ปัจจุบัน มีนครจำนวน 3 แห่ง ทั้งหมดอยู่ในมณฑลไต้หวัน

ชื่อ[4] อักษรจีน ฮั่นยฺหวี่
พินอิน
เวด-ไจลส์ ทงย่ง
พินอิน
เป่อ่วยจี
ภาษาฮกเกี้ยน
พักฟ้าซื้อ
ภาษาฮากกา
พื้นที่
(ตร.กม.)
ที่ตั้ง
ศาลาว่าการ
วันที่จัดตั้ง
(ปี-เดือน-วัน)
นครเจียอี้ 嘉義市 Jiāyì Chia¹-i⁴ Jiayì Ka-gī Kâ-ngi 60.03 เขตตะวันออก 東區 1982-07-01
นครซินจู๋ 新竹市 Xīnzhú Hsin¹-chu² Sinjhú Sin-tek Sîn-chuk 104.10 เขตเหนือ 北區 1982-07-01
นครจีหลง 基隆市 Jīlóng Chi¹-lung² Jilóng Ke-lâng Kî-lùng 132.76 เขตจงเจิ้ง 中正區 1945-10-25

หน่วยงานปกครองท้องถิ่นของนครจะประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งวางระเบียบโดยรัฐบัญญัติการปกครองท้องถิ่น

ดูเพิ่ม[แก้]

ภาพรวมของเขตการปกครองของสาธารณรัฐจีน
สาธารณรัฐจีน
พื้นที่เสรี[ก] แผ่นดินใหญ่[ข]
นครปกครองโดยตรง[ค][ง] มณฑล[จ] ไม่ได้ปกครอง[ฉ]
นคร[ค][ง][ช] เทศมณฑล[ค]
เขต[ซ] เขต
ชนพื้นเมือง
ภูเขา
[ค]
เขต[ซ] นคร
ภายใต้
เทศมณฑล
[ค][ง]
เมือง[ค][ซ] ตำบล[ค][ซ] ตำบล
ชนพื้นเมือง
ภูเขา
[ค][ซ]
หมู่บ้านในเมือง[ด] หมู่บ้านชนบท[ด]
ละแวก
หมายเหตุ
  1. เรียกอีกอย่างว่า พื้นที่ไต้หวัน หรือ พื้นที่ไถ-หมิ่น (จีน: 臺閩地區; แปลตรงตัว: "เขตไต้หวัน–ฝูเจี้ยน")
  2. แผ่นดินใหญ่ในที่นี้ประกอบด้วย จีนแผ่นดินใหญ่ ทิเบต และมองโกเลียนอก (ก่อนหน้านี้)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 มีฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมาจากการเลือกตั้ง
  4. 4.0 4.1 4.2 นครปกครองโดยตรง, นคร, และนครภายใต้เทศมณฑล ทั้งหมดนี้ในภาษาจีนเรียกว่า ชื่อ (จีน: ; พินอิน: shì; แปลตรงตัว: "นคร")
  5. ปัจจุบันเป็นมณฑลในนาม การปกครองระดับมณฑลได้ถูกยกเลิกแล้ว
  6. จากรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐจีน พื้นที่แผ่นดินใหญ่มีโครงสร้างการปกครองเดียวกันกับพื้นที่เสรี ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยมีโครงสร้างที่แตกต่างกับของสาธารณรัฐจีน
  7. บางครั้งก็เรียกว่า นครภายใต้มณฑล (จีน: 省轄市) เพื่อที่จะแยกความแตกต่างจาก นครปกครองโดยตรง และนครภายใต้เทศมณฑล
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 มีผู้อำนวยการเขตที่มาจากการแต่งตั้ง เพื่อบริหารจัดการกิจการท้องถิ่น และดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานที่สูงกว่า
  9. 9.0 9.1 มีผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อบริหารจัดการกิจการท้องถิ่น และดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานที่สูงกว่า


หมายเหตุ[แก้]

คำในภาษาพื้นเมือง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Local governments". Office of the President Republic of China (Taiwan). สืบค้นเมื่อ 30 November 2020.
  2. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-30. สืบค้นเมื่อ 2014-03-30.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-11. สืบค้นเมื่อ 2021-12-30.
  4. "Glossary of Names for Admin Divisions" (PDF). Taiwan Geographic Names Information Systems. The Ministry of Interior of ROC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-08-19. สืบค้นเมื่อ 6 June 2015.