ผู้ใช้:JACK PV/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิชญ์ โพธารามิก
พิชญ์ โพธารามิก
เกิด29 ตุลาคม พ.ศ. 2515 (51 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
อาชีพผู้บริหารธุรกิจ

พิชญ์ โพธารามิก (เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2515) นักธุรกิจแถวหน้าของเมืองไทย เป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของ ดร.อดิศัย โพธารามิก อดีตรัฐมนตรีและนักการเมือง กับ ดร.พิชนี โพธารามิก โดย พิชญ์ โพธารามิก เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทโทรคมนาคมและบันเทิง ได้แก่ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS, บริษัท จัสมิน เทคโนโลยีโซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ JTS ที่มีเป้าหมายเป็นบริษัทขุดบิทคอยน์ Bitcoin ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือหุ้นจำนวน 67,748,400 หุ้น หรือร้อยละ 9.59, บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ MONO ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามสถานีโทรทัศน์ ช่อง MONO29 ที่ครองอันดับ 3 ของฟรีทีวีไทย ถือหุ้นจำนวน 2,052,000,000 หุ้น หรือร้อยละ 59.12, บริษัท พินเวสเมนท์ จำกัด, บริษัท อินฟินิท คิทเช่น จำกัด, บริษัท เอนเตอร์เทนเมนท์29 จำกัด, บริษัท แวมไพร์ สปอร์ตส์ จำกัด, และบริษัทอื่นๆ อีกมากมาย ล่าสุด พิชญ์ โพธารามิก ได้รับการจัดอันดับมหาเศรษฐีไทยประจำปี 2565 อยู่ในอันดับที่ 48 จากนิตยสาร Forbes [1]


การศึกษา[แก้]

ประวัติการทำงาน[แก้]

ในกลุ่มจัสมินและโมโน [3]

  • ทำงานทางด้าน การเงินในบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) โดยมี ดร.อดิศัย โพธารามิก นั่งอยู่ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของทีทีแอนด์ที (TT&T) และจัสมินฯ (JAS) ในขณะนั้น
  • ในปี 2542 ได้เปิดธุรกิจโมเดลลิ่งในรูปแบบ Talent Agency จัดหานายแบบ นางแบบ ดารา นักแสดง
  • ในปี 2542 ได้ก่อตั้งเว็บไซต์ MThai.com ขึ้นมา เป็นที่รู้จักยอมรับในการให้ข้อมูลผ่านแพล็ตฟอร์มออนไลน์
  • ใน ปี 2543 ได้เริ่มต้น จัดตั้งบริษัท จัสมิน ไซเบอร์ เวิร์ค จำกัด โดยเป็นบริษัทลูกของ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ซึ่งลักษณะการทำธุรกิจเป็นการสนับสนุนธุรกิจดอทคอมที่กำลังเติบโต
  • ในปี 2544 ได้เริ่มธุรกิจบันเทิงอย่างเต็มตัว กับนิตยสาร Gossip Star นิตยสาร CANDY และ หนังสือ Gossip TV ซึ่ง นิตยสาร Gossip Star ที่ถือเป็นนิตยสารในรูปแบบใหม่ที่เกาะติดข่าว ภาพ เรื่องราวของ นักแสดง ดารา อย่างใกล้ชิด
  • ในปี 2545 ได้จัดตั้ง บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจให้บริการด้านเนื้อหาและความบันเทิง (Content Provider) ผ่านสื่อมัลติมีเดียโทรศัพท์พื้นฐาน, โทรศัพท์เคลื่อนที่ และกลุ่มธุรกิจอินเตอร์เน็ต
  • ในปี 2547 ได้ตั้งบริษัท โมโนฟิล์ม จำกัด เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • ในปี 2551 ได้เข้ามาบริหารงานกลุ่มจัสมินฯ โครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ในนาม “3BB” พร้อมครองส่วนแบ่งทางการตลาดอินเตอร์เน็ตบ้านที่ครอบคลุมทั่วประเทศได้
  • ในปี 2551 เปิดค่ายเพลงชื่อ “โมโน มิวสิก” และมีค่ายเพลงในสังกัด คือ ค่ายบัซซ์ มิวสิก และค่ายสตูดิโอโตโม่ ที่สร้างผลงานคุณภาพให้แจ้งเกิดมากมาย
  • ในปี 2552 ฉลองครบรอบ 10 ปี “Mono Group 10th Anniversary”
  • ในปี 2554 เปิดให้บริการ “ดูหนังดอทคอม” (Doonung.com) บริการดูหนังและซีรีส์ออนไลน์แบบถูกลิขสิทธิ์ ก่อนเปลี่ยนมาเป็น MONOMAX ในปัจจุบัน
  • ในปี 2556 นำบริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai
  • ในปี 2556 ลงสนามทีวีดิจิตอลโดยร่วม ประมูล TV digital ภายใต้ บริษัท “โมโน บรอดคาซท์” หรือ สถานีโทรทัศน์ช่อง MONO29 เป็นครั้งแรก
  • ในปี 2557 ได้ก่อตั้งธุรกิจ “โมโน สปอร์ต” [4] ขึ้นมา เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล พร้อมจัดตั้งทีมบาสเกตบอล “โมโนแวมไพร์ บาสเกตบอลคลับ” ซึ่งประสบความสำเร็จทั้งลีกในประเทศและต่างประเทศ ในลีกระดับอาเซียนและเอเชียต่าง ๆ อาทิ การแข่งขัน “5th SEABA Stankovic Cup 2016, การแข่งขันบาสเกตบอลระดับอาเซียน (ซีบาสแตนโควิชคัพ2016) ครั้งที่ 5, การแข่งขัน ไทยแลนด์บาสเกตบอลซูเปอร์ลลีก หรือ TBSL, การแข่งขันบาสเกตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ “SEABA Championship 2017”, การแข่งขัน “FIBA ASIA CHAMPIONS CUP 2017”, การแข่งขัน FIBA Asia Champions Cup 2018 SEABA Qualifier, “เอเชียนเกมส์ 2018” หรือ “จาการ์ตา ปาเล็มบัง 2018” และ ซีเกมส์ ครั้งที่ 29 (ที่ประเทศมาเลเซีย)
  • ในปี 2563 ได้เข้าสู่ธุรกิจ Esports Gaming และจัดตั้ง บริษัท E29 Esports Gaming ขึ้นมา และเริ่มจัดจตั้งทีม ”VAMPIRE ESPORTS” (แวมไพร์อีสปอร์ต) [5] หรือ VPE เข้าร่วมการแข่งขัน ล่าสุดคว้าแชมป์การแข่งขัน UG AMATEUR LEAGUE SS3, แชมป์การแข่งขัน “PUBG MOBILE Pro League Season 3” (PMPL SS3) และแชมป์การแข่งขัน “PUBG Mobile World Invitational 2022”
  • เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563 บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ MONO ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อจากบริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน) โดยมีผลเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563
  • ในปี 2565 ได้ก่อตั้งค่ายเพลง “E29 MUSIC IDENTITIES” (อีทูไนน์ มิวสิก ไอเดนติตี้) โดยมี ชินดนัย ภูวกุล นั่งแท่นบริหารค่ายเพลง

ด้านธุรกิจ[แก้]

สำหรับธุรกิจในกลุ่มจัสมิน พิชญ์ โพธารามิก เข้ามาบริหารในกลุ่มจัสมินตั้งแต่ปี 2551 โดยมีบริษัทภายใต้การบริหารดังนี้

  • บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ทรี บีบี ทีวี จำกัด
  • บริษัท จัสมิน ซับมารีน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
  • บริษัท จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ JTS
  • บริษัท คลาวด์ คอมพิวติ้ง โซลูชั่นส์ จำกัด
  • บริษัท จัสเทล เน็ทเวิร์ค จำกัด
  • บริษัท พรีเมียม แอสเซท จำกัด
  • บริษัท อคิวเมนท์ จำกัด
  • บริษัท ศูนย์บริการวิทยาการ อินเตอร์เนต จำกัด

สำหรับธุรกิจบันเทิงในกลุ่มโมโนทีผ่านมา พิชญ์ โพธารามิก ได้ร่วมสร้างสรรค์และบริหารมาแล้ว มากมาย ดังนี้

งานภาพยนตร์[แก้]

โมทีฟพลัส

  • 2550 ภาพยนตร์ Me...Myself ขอให้รักจงเจริญ
  • 2551 ภาพยนตร์ Happy Birthday
  • 2552 ภาพยนตร์ Roommate
  • 2553 ภาพยนตร์ ชิงหมาเถิด

Mono film

  • 2547 ภาพยนตร์ พระอภัยมณี ตอน สุดสาคร
  • 2547 ภาพยนตร์ ไพรรี พินาศ
  • 2547 ภาพยนตร์ เสือคาบดาบ
  • 2558 ภาพยนตร์ คนอักหัก
  • 2558 ภาพยนตร์ 2538 อัลเทอร์มาจีบ
  • 2558 ภาพยนตร์ หอแต๋วแตก แหกนะคะ
  • 2564 ภาพยนตร์ อโยธยา มหาละลวย

T-moment

  • 2560 ภาพยนตร์ โอเวอร์ไซส์ ทลายพุง
  • 2561 ภาพยนตร์ นรก 6 เมตร
  • 2561 ภาพยนตร์ App ชน App

งานเพลง[แก้]

ศิลปินเดี่ยว

  • 2546 พีระ เทศวิศาล(พีท พีระ)
  • 2551 แป้ง ณัฐณิชา ทิพยมณฑล (แป้ง)
  • 2553 สกานต์ เอี่ยมสอาด (มะตูม)
  • 2557 อ้อน ลัคนา
  • 2557 เบญจณัฏฐ์ อักษรนันทน์ (จิ๊บ)
  • 2561 ชาลี ปอทเจส (แน็ก)
  • 2561 รัชชานนท์ เรือนเพ็ชร์ (กัน)
  • 2561 ธันวา จำปาภา (อั้ม)
  • 2561 เลลาณี ทศพร (เบลล์)
  • 2561 พชรวรรณ วาดรักชิต (ทิชา)

วงดนตรี

  • 2548 สเตตัส ซิงเกิล หรือ แบชเชอร์
  • 2554 ทเวนตี้ ทาวน์
  • 2554 เอสพีเอฟ
  • 2554 เรดิโอ การ์เด้น

เกิร์ลกรุ๊ป

  • 2552 G20
  • 2552 แคนดี้ มาเฟีย
  • 2557 คัพ ซี
  • 2561 เจลาโต

ศิลปินดูโอ

  • 2553 เชอร์รี่ แบล็ค
  • 2559 เอ-ปอย

บอยแบนด์

  • 2556 อีโว ไนน์
  • 2561 บลู เจน

เกียรติคุณทางสังคม[แก้]

  • ผู้ให้การสนับสนุนสมาคมกีฬาบาสเกตบอลแห่งประเทศไทย [6]

อ้างอิง[แก้]