ฟุตบอลโลก 1930

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลโลก 1930
1er Campeonato Mundial de Futbol
โปสเตอร์ฟุตบอลโลก 1930 อย่างเป็นทางการ
รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพอุรุกวัย
วันที่13 กรกฎาคม - 30 กรกฎาคม
ทีม13
สถานที่(ใน 1 เมืองเจ้าภาพ)
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
ชนะเลิศธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย (สมัยที่ 1)
รองชนะเลิศธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา
อันดับที่ 3ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ
อันดับที่ 4ธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย
สถิติการแข่งขัน
จำนวนนัดที่แข่งขัน18
จำนวนประตู70 (3.89 ประตูต่อนัด)
ผู้ชม434,500 (24,139 คนต่อนัด)
ผู้ทำประตูสูงสุดอาร์เจนตินา กิเยร์โม สตาบิเล่ (8 ประตู)
1934

ฟุตบอลโลก 1930 เป็นฟุตบอลโลกครั้งแรก จัดขึ้นที่ประเทศอุรุกวัย ในปี พ.ศ. 2473 โดยทีมชาติอุรุกวัยชนะอาร์เจนตินา 4-2 ในรอบชิงชนะเลิศ

การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้เป็นการแข่งขันครั้งโดยไม่มีการคัดเลือกทีมเข้าเล่น ประเทศที่เข้าร่วมเป็นประเทศที่ได้รับเชิญและเป็นส่วนหนึ่งของฟีฟ่าในขณะนั้น ในขณะเดียวกันเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกนั้นสูง ทำให้หลายประเทศในทวีปยุโรปไม่ได้เข้าร่วมฟุตบอลโลกในครั้งนี้ ทำให้ประธานของฟีฟ่า ชูล รีเม ร่วมกับรัฐบาลของอุรุกวัย ได้สัญญาจะจ่ายค่าเดินทางทั้งหมดให้กับทีมที่มาจากทวีปยุโรป ในที่สุดทีมจากยุโรป 4 ทีม ได้แก่ เบลเยียม ฝรั่งเศส ยูโกสลาเวีย และโรมาเนียได้เดินทางทางทะเลเป็นเวลาสามสัปดาห์มาที่ประเทศอุรุกวัย

การแข่งขันในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 4 สาย ได้แก่เอ บี ซี และดี โดยสายเอจะมีอยู่ 4 ทีมในขณะที่สายอื่นมี 3 ทีม ผู้ชนะในแต่ละสายจะผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก

ถ้วยฟุตบอลโลก[แก้]

ไฟล์:Coupe Jules Rimet.jpg
ถ้วยรางวัลชูลส์ รีเมต์ ใช้ในช่วงฟุตบอลโลก 1938-1970

ถ้วยฟุตบอลโลกในปีนั้นชื่อ ถ้วยรางวัลชูล รีเม ซึ่งตั้งชื่อตามชูล รีเมซึ่งเป็นประธานฟีฟ่าในสมัยนั้น และถ้วยนี้ใช้ต่อเนื่องมาจนถึงฟุตบอลโลก 1970

การคัดเลือกเจ้าภาพ[แก้]

อิตาลี สวีเดน เนเธอร์แลนด์ สเปน และอุรุกวัย ได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในครั้งนี้[1][2] โดยอุรุกวัยเป็นประเทศที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นเจ้าภาพมากที่สุดในขณะนั้น

รายชื่อประเทศที่เข้ารอบ[แก้]

สถานที่แข่งขัน[แก้]

การแข่งขันทุกนัดจัดขึ้นที่กรุงมอนเตวิเดโอ จำนวน 3 สนาม ได้แก่ เอสตาดิโอเซนเตนาริโอ เอสตาดิโอกรันพาร์เกเซนตรัล และเอสตาดิโอโปซิโตส

ฟุตบอลโลก 1930 (อุรุกวัย)
มอนเตวิเดโอ
เอสตาดิโอเซนเตนาริโอ เอสตาดิโอกรันพาร์เกเซนตรัล เอสตาดิโอโปซิโตส
34°53′40.38″S 56°9′10.08″W / 34.8945500°S 56.1528000°W / -34.8945500; -56.1528000 (Estadio Centenario) 34°54′4″S 56°9′32″W / 34.90111°S 56.15889°W / -34.90111; -56.15889 (Estadio Gran Parque Central) 34°54′18.378″S 56°9′22.42″W / 34.90510500°S 56.1562278°W / -34.90510500; -56.1562278 (Estadio Pocitos)
ความจุ: 90,000 ความจุ: 20,000 ความจุ: 1,000

รอบแรก[แก้]

กลุ่มเอ[แก้]

ทีม คะแนน แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
ธงของประเทศอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 6 3 3 0 0 10 4
ธงของประเทศชิลี ชิลี 4 3 2 0 1 5 3
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2 3 1 0 2 4 3
ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก 0 3 0 0 3 4 13
ฝรั่งเศส ธงชาติฝรั่งเศส4-1ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก
เอสตาดิโอโปซิโตส มอนเตบิเดโอ
ผู้ชม: 4,444
ผู้ตัดสิน: โดมิงโก โลมบาร์ดี (อุรุกวัย)


ชิลี ธงชาติชิลี3-0ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก
ผู้ชม: 9,249
ผู้ตัดสิน: อ็องรี คริสต็อฟ (เบลเยียม)

ชิลี ธงชาติชิลี1-0ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ผู้ชม: 2,000
ผู้ตัดสิน: อานีบัล เตฮาดา (อุรุกวัย)

อาร์เจนตินา ธงชาติอาร์เจนตินา6-3ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก
ผู้ชม: 42,100
ผู้ตัดสิน: อูลิเซส เซาเซโด (โบลิเวีย)

อาร์เจนตินา ธงชาติอาร์เจนตินา3-1ธงชาติชิลี ชิลี

กลุ่มบี[แก้]

ทีม คะแนน แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
 ยูโกสลาเวีย 4 2 2 0 0 6 1
ธงของประเทศบราซิล บราซิล 2 2 1 0 1 5 2
ธงของประเทศโบลิเวีย โบลิเวีย 0 2 0 0 2 0 8
ยูโกสลาเวีย ธงชาติราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย2-1ธงชาติบราซิล บราซิล
ผู้ชม: 24,059
ผู้ตัดสิน: อานีบัล เตฮาดา (อุรุกวัย)
ยูโกสลาเวีย ธงชาติราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย4-0ธงชาติโบลิเวีย โบลิเวีย
ผู้ชม: 18,306
ผู้ตัดสิน: ฟรังซิสโก มาเตอุกซิ (อุรุกวัย)
บราซิล ธงชาติบราซิล4-0ธงชาติโบลิเวีย โบลิเวีย
ผู้ชม: 25,466
ผู้ตัดสิน: ตอมา บาลเว (ฝรั่งเศส)

กลุ่มซี[แก้]

ทีม คะแนน แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
ธงของประเทศอุรุกวัย อุรุกวัย 4 2 2 0 0 5 0
ธงของประเทศโรมาเนีย โรมาเนีย 2 2 1 0 1 3 5
ธงของประเทศเปรู เปรู 0 2 0 0 2 1 4
โรมาเนีย ธงชาติโรมาเนีย3-1ธงชาติเปรู เปรู
ผู้ชม: 2,549
ผู้ตัดสิน: อัลเบร์โต วาร์นเกน (ชิลี)
อุรุกวัย ธงชาติอุรุกวัย1-0ธงชาติเปรู เปรู
ผู้ชม: 57,735
ผู้ตัดสิน: John Langenus (เบลเยียม)
อุรุกวัย ธงชาติอุรุกวัย4-0ธงชาติโรมาเนีย โรมาเนีย
ผู้ชม: 70,022
ผู้ตัดสิน: Almeida Rêgo (บราซิล)

กลุ่มดี[แก้]

ทีม คะแนน แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
 สหรัฐ 4 2 2 0 0 6 0
ธงของประเทศปารากวัย ปารากวัย 2 2 1 0 1 1 3
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม 0 2 0 0 2 0 4
สหรัฐ ธงชาติสหรัฐ3-0ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม
ผู้ชม: 18,346
ผู้ตัดสิน: โฮเซ มาเซียส (อาร์เจนตินา)
สหรัฐ ธงชาติสหรัฐ3-0ธงชาติปารากวัย ปารากวัย
ผู้ชม: 18,306
ผู้ตัดสิน: โฮเซ มาเซียส (อาร์เจนตินา)
ปารากวัย ธงชาติปารากวัย1-0ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม
ผู้ชม: 12,000
ผู้ตัดสิน: ริการ์โด บายาริโน (อุรุกวัย)

รอบแพ้คัดออก[แก้]

รอบรองชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศ
27 กรกฎาคม
มอนเตวิเดโอ (เซนเตนาริโอ)
 ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย 6  
 ธงชาติราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย 1  
 
30 กรกฎาคม
มอนเตวิเดโอ (เซนเตนาริโอ)
     ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย 4
   ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 2
26 กรกฎาคม
มอนเตวิเดโอ (เซนเตนาริโอ)
 ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 6
 ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 1  

รอบรองชนะเลิศ[แก้]

อาร์เจนตินา ธงชาติอาร์เจนตินา6-1ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ
ผู้ชม: 72,886
ผู้ตัดสิน: John Langenus (เบลเยียม)
อุรุกวัย ธงชาติอุรุกวัย6-1ธงชาติราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย
ผู้ชม: 79,867
ผู้ตัดสิน: Almeida Rêgo (บราซิล)

รอบชิงชนะเลิศ[แก้]

อุรุกวัย ธงชาติอุรุกวัย4-2ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา
ผู้ชม: 68,346
ผู้ตัดสิน: John Langenus (เบลเยียม)

อ้างอิง[แก้]

  1. "History of FIFA – The first FIFA World Cup". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-29. สืบค้นเมื่อ 14 June 2014.
  2. "World Cup History – Uruguay 1930". BBC Sport. BBC. 11 April 2002. สืบค้นเมื่อ 14 June 2009.