ภัยพิบัติโภปาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภัยพิบัติโภปาล
โรงงานยาฆ่าแมลงโภปาลของบริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ ในปี 1985 ซึ่งเป็นปีถัดจากภัยพิบัติ
แผนที่
วันที่2 ธันวาคม ค.ศ. 1984 (1984-12-02)3 ธันวาคม ค.ศ. 1984 (1984-12-03)
เวลา(UTC+05:30)
ที่ตั้งโภปาล, รัฐมัธยประเทศ, อินเดีย
พิกัด23°16′51″N 77°24′38″E / 23.28083°N 77.41056°E / 23.28083; 77.41056พิกัดภูมิศาสตร์: 23°16′51″N 77°24′38″E / 23.28083°N 77.41056°E / 23.28083; 77.41056
ชื่ออื่นโศกนาฏกรรมก๊าซโภปาล
ประเภทอุบัติเหตุจากสารเคมี
สาเหตุการรั่วไหลของก๊าซเมทิลไอโซไซยาไนด์ จากถังเก็บ E610 ในโรงงานบริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ สาเหตุมีการโต้แย้งระหว่างความประมาทเลินเล่อขององค์กรหรือการก่อวินาศกรรมของพนักงาน
เสียชีวิตอ้างว่าอย่างน้อย 3,787 หรือมากกว่า 16,000 ศพ
บาดเจ็บไม่ถึงตายอย่างน้อย 558,125 ราย
อนุสรณ์สถานของผู้เสียชีวิตในโศกนาฏกรรม ข้อความที่ฝาผนังเป็นภาษาฮินดี เขียนว่า "แขวนคอนายแอนเดอร์สัน"

พิบัติภัยโภปาล เกิดขึ้นเนื่องจากอุบัติเหตุที่โรงงานผลิตยาฆ่าแมลงของบริษัทยูเนียนคาร์ไบด์[1] ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองโภปาล เมืองหลวงของรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย เมื่อกลางดึกของวันที่ 3 ธันวาคม 1984 ทำให้ก๊าซเมทิลไอโซไซยาไนด์ และสารพิษอื่น ๆ รั่วไหลออกจากโรงงาน และส่งผลกระทบถึงประชาชนมากกว่า 500,000 คน

หน่วยงานท้องถิ่นของรัฐมัธยประเทศว่า มีผู้เสียชีวิตทันที 2,259 คน ต่อมาจึงสรุปยอดผู้เสียชีวิตว่า มี 3,787 คน[2] ในขณะที่หน่วยงานอื่นของรัฐบาลอินเดียว่า มีผู้เสียชีวิตประมาณ 15,000 คน [3] โดย 8,000 คนเสียชีวิตในสัปดาห์แรกหลังเกิดเหตุ[4][5]

เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 หลังเกิดเหตุการณ์เป็นเวลา 24 ปี ศาลอินเดียได้ตัดสินว่า อดีตพนักงานของยูเนียนคาร์ไบด์ 7 คน รวมทั้งนายวอร์เรน แอนเดอร์สัน อดีตประธานบริษัท มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และลงโทษจำคุกคนละ 2 ปี พร้อมปรับเงินอีกคนละประมาณ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นบทลงโทษขั้นสูงสุดตามกฎหมายอินเดีย ส่วนอดีตพนักงานอีก 8 คนที่ถูกกล่าวหาด้วย ได้ถึงแก่ความตายลงก่อนมีคำพิพากษาดังกล่าว[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. ปัจจุบันเป็นบริษัทในเครือของดาวเคมิคอล
  2. http://www.mp.gov.in/bgtrrdmp/relief.htm
  3. "Industrial Disaster Still Haunts India – South and Central Asia – msnbc.com". December 2, 2009. สืบค้นเมื่อ December 3, 2009.
  4. Eckerman (2001).
  5. Eckerman, Ingrid (2001). Chemical Industry and Public Health—Bhopal as an example (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-26. สืบค้นเมื่อ 2010-06-09. Essay for MPH. A short overview, 57 pages, 82 references.
  6. "Bhopal trial: Eight convicted over India gas disaster". BBC News. 2010-06-07. สืบค้นเมื่อ 2010-06-07.