วิกิพีเดีย:ลายเซ็น

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แนวปฏิบัติ
นโยบายและแนวปฏิบัติในวิกิพีเดีย
พฤติกรรม
สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ
ผลประโยชน์ทับซ้อน
มารยาท
โปรดอย่ากัดผู้ใช้ใหม่
ลายเซ็น
หน้าผู้ใช้
เนื้อหา
อัตชีวประวัติ
การอ้างอิงแหล่งที่มา
แหล่งข้อมูลอื่น
การใส่ภาพ
ไม่ต้องกลัวเสียอรรถรส
การแก้ไข
ขอให้กล้า
คำอธิบายอย่างย่อ
ต้องมีเนื้อหาอย่างชัดเจน
ความสำคัญของเนื้อหา
เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม
แนวทางการเขียน
คู่มือในการเขียน
เขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น
หลีกเลี่ยงถ้อยคำคลุมเครือ
ดูเพิ่ม
รายชื่อนโยบายทั้งหมด
รายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมด

การลงชื่อเวลาพูดคุยหรือแสดงความเห็นในหน้าอภิปรายหรือหน้าโครงการ เป็นมารยาทที่ดีในการสื่อสารกับผู้อื่น โดยช่วยให้ผู้อื่นสามารถแบ่งแยกข้อความของบุคคลอื่น ๆ ได้ วิธีลงชื่อสามารถทำได้โดย พิมพ์ชื่อและวันที่ต่อท้ายข้อความของคุณ หรือสามารถทำได้อัตโนมัติ โดยการพิมพ์ --~~~~ ต่อท้ายข้อความ ซึ่งทางระบบจะใส่ชื่อและวันที่ให้แทนที่โดยอัตโนมัติ หมายเลขไอพีจะแสดงแทนชื่อผู้ใช้หากคุณไม่ได้ล็อกอิน

ข้อควรระวัง

ในบทความ หมวดหมู่ แม่แบบจะไม่มีการลงชื่อ การลงชื่อใช้สำหรับการพูดคุยในหน้าอภิปราย หน้าคุยกับผู้ใช้ หรือการพูดคุยอื่น ๆ แต่ไม่ใช่สำหรับหน้าบทความ หรือสำหรับเนื้อหาที่ไม่ใช่สำหรับการอภิปราย

รูปแบบการลงชื่อ

แบบที่แนะนำ

~ สี่ครั้ง

มี 2 วิธีในการพิมพ์:

  1. เมื่อจบความคิดเห็น พิมพ์ ~ สี่ครั้ง ตามนี้: ~~~~
  2. ถ้าคุณใช้แถบช่วยการแก้ไข (เหนือช่องการแก้ไข)[1] คลิกไอคอนลายเซ็น: เพื่อเติม ~ สี่ครั้ง

ลายเซ็นของคุณจะแสดงหลังจากคุณบันทึก ปรากฏเป็นรายการผู้ที่บันทึก และวันเวลาที่บันทึก ตามลำดับ

รหัส โค้ดทีได้ การแสดงผล
~~~~ [[ผู้ใช้:ตัวอย่าง|ตัวอย่าง]] 04:36, 22 กันยายน 2566 (ICT) ตัวอย่าง 04:36, 22 กันยายน 2566 (ICT)

ตัวเลือกอื่น

~ สามครั้ง

ทิลเดอสามครั้งเป็นการลงรายการเฉพาะผู้ที่บันทึก

รหัส โค้ดที่ได้ การแสดงผล
~~~ [[ผู้ใช้:ตัวอย่าง|ตัวอย่าง]] ตัวอย่าง

~ ห้าครั้ง

ทิลเดอห้าครั้งเป็นการลงรายการเฉพาะวันเวลาที่บันทึก การปรับเวลาขึ้นอยู่กับการตั้งค่าเขตเวลาของคุณด้วย

รหัส โค้ดที่ได้ เมื่อเสร็จแล้ว
~~~~~ 04:36, 22 กันยายน 2566 (ICT) 04:36, 22 กันยายน 2566 (ICT)

การปรับแต่งลายเซ็น

ผู้ใช้สามารถปรับแต่งลายเซ็นได้ที่ พิเศษ:การตั้งค่า ควรระลึกไว้เสมอว่าลายเซ็นบางแบบอาจส่งผลกระทบกับผู้ใช้คนอื่นๆ เช่น อาจรบกวนการอ่านการอภิปราย หรือการแก้ไข

ลายเซ็นไม่ควรจะเลียนแบบหรือทำให้คิดว่าเป็นผู้ใช้อื่น (เช่น ลายเซ็นไม่ควรจะตรงกับชื่อผู้ใช้ที่มีอยู่แล้ว) โดยทั่วไปลายเซ็นควรแสดงถึงชื่อผู้ใช้นั้น ๆ ในระดับหนึ่ง

หากต้องการขอร้องให้ผู้อื่นเปลี่ยนลายเซ็น อย่าลืมทำอย่างสุภาพ หากคุณถูกร้องขอให้เปลี่ยนลายเซ็น กรุณาอย่าตีความการขอร้องอย่างสุภาพเป็นการโจมตี

  • โค้ด - ระมัดระวังการใช้โค้ดที่อาจส่งผลกับข้อความรอบข้างได้ เช่น สี ตัวหนา ตัวยกตัวห้อย ฯลฯ
  • กะพริบ - ลายเซ็นไม่ควรมีลักษณะกะพริบ
  • ภาพ - ห้ามใช้ภาพในลายเซ็น พิจารณาใช้สัญลักษณ์ในยูนิโคดแทนการใช้ภาพ
  • ตัวอักษร - ลายเซ็นควรมีอักษรไทยหรือละตินประกอบอยู่บ้าง เนื่องจากอักษรอื่น ๆ อาจไม่แสดงผลบนหน้าจอของผู้ใช้บางคน
  • ความยาว - ควรดูแลไม่ให้ลายเซ็นมีความยาวมากเกินไป ทั้งในการแสดงผลและในโค้ด
  • ลิงก์ไปหน้าผู้ใช้ - โดยทั่วไปลายเซ็นควรจะมีลิงก์ภายในไปยังหน้าผู้ใช้หรือหน้าพูดคุยของคุณ
  • ลิงก์ไปที่อื่น - ลายเซ็นไม่ควรมีลิงก์ไปยังบทความในวิกิพีเดีย หรือลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่น

หมายเหตุ

  1. ถ้าการตั้งค่าเบราว์เซอร์ไม่ให้ใช้จาวาสคริปต์ ไอคอนจะแสดงต่อเมื่อการตั้งค่าถูกเปลี่ยน