สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระวันรัต

(จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)
คำนำหน้าชื่อท่านเจ้าประคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด17 กันยายน พ.ศ. 2479
อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ประเทศสยาม
มรณภาพ15 มีนาคม พ.ศ. 2565
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาป.ธ.9 น.ธ.เอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท8 กรกฎาคม พ.ศ. 2499
พรรษา67
ตำแหน่งอดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช,อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม,อดีตประธานคณะสนองงานในสมเด็จพระสังฆราช,อดีตเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต,อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

สมเด็จพระวันรัต ฉายา พฺรหฺมคุตฺโต (นามเดิม:จุนท์ พราหมณ์พิทักษ์) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช,อดีตเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต[1], อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม, อดีตประธานคณะสนองงานในสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20[2] และอดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

ประวัติ[แก้]

สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่า จุนท์ พราหมณ์พิทักษ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2479 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ณ บ้านเกาะเกตุ ตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายจันทร์และนางเหล็ย พราหมณ์พิทักษ์ ท่านสำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดคิรีวิหาร ตำบลชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด จากนั้น ได้เข้าพิธีบรรพชาเมื่อวันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ณ วัดคิรีวิหาร ตำบลชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด โดยมีพระวินัยบัณฑิตเป็นพระอุปัชฌาย์ กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยบัณฑิต (ถาวร ฐานุตฺตโร) วัดคิรีวิหาร จังหวัดตราด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิสุทธิธรรมภาณ (แจ่ม ธมฺมสาโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังอุปสมบทได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค จากสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

ทั้งนี้สมเด็จพระวันรัต นับว่าเป็นพระนวกะ (พระบวชใหม่) ร่วมสมัยกับพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ทรงผนวชวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 และประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร จนกระทั่งทรงลาผนวชวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 และเมื่อคราวที่ สมเด็จพระวันรัต ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระอมรโมลี ยังได้เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรเรื่องพระธรรมวินัย แด่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ทรงผนวชเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ด้วย

ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 สมเด็จพระวันรัต ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี ได้ปฏิบัติหน้าที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ นั่งพระเสลี่ยงกลีบบัว (พระยานมาศพระนำ) และราชรถน้อย (รถพระนำ) อ่านพระอภิธรรมนำขบวนพระอิสริยยศ ในการเคลื่อนพระศพ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สู่พระเมรุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

รวมทั้งในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555 สมเด็จพระวันรัต ได้ปฏิบัติหน้าที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ นั่งพระเสลี่ยงกลีบบัว (พระยานมาศพระนำ) และราชรถน้อย (รถพระนำ) อ่านพระอภิธรรมนำขบวนพระอิสริยยศ ในการเคลื่อนพระศพจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สู่พระเมรุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

และในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 สมเด็จพระวันรัต ได้ปฏิบัติหน้าที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ นั่งพระเสลี่ยงกลีบบัว (พระยานมาศพระนำ) และราชรถน้อย (รถพระนำ) อ่านพระอภิธรรมนำขบวนพระอิสริยยศ ในการเคลื่อนพระศพ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สู่พระเมรุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงอีกวาระหนึ่ง

หน้าที่พิเศษอีกประการหนึ่งของสมเด็จพระวันรัต คือ การที่ได้รับมอบหมายจากเถรสมาคมเป็นผู้ตรวจสอบการคำนวณปฏิทินหลวง (ปฏิทินจันทรคติไทย) และให้ความเห็น ก่อนที่จะประกาศใช้ในแต่ละปี นอกจากนี้ยังเดินหมุดและคำนวณปฏิทินปักขคณนาสำหรับวันลงอุโบสถให้กับคณะสงฆ์ธรรมยุตด้วย

สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร อาพาธด้วยโรคมะเร็งถุงน้ำดี ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 14.22 น. สมเด็จพระวันรัต ได้มรณภาพด้วยอาการสงบนั้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการสวดพระอภิธรรมศพระหว่าง 18-23 มีนาคม พ.ศ. 2565 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน พระราชทานเพลิงศพ นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนชั้นเกียรติยศประกอบศพ จากโกศไม้สิบสอง เป็นโกศมณฑป ฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวด ซึ่งจะพระราชทานเฉพาะพระเจ้าบรมวงศ์ พระองค์เจ้า และพระเจ้าวรวงศ์ พระองค์เจ้า ที่ทรงกรม ข้าราชการชั้นเสนาบดีที่เป็นราชสกุล จึงนับเป็นเกียรติยศสูงสุดที่พระราชทานแก่พระราชาคณะชั้นสมเด็จ

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ยังเสด็จพระราชดำเนินมาในการพระราชทานน้ำหลวงสรงศพสมเด็จพระวันรัตด้วยพระองค์เอง วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565 และการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565 อีกด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

วิทยฐานะ[แก้]

  • พ.ศ. 2491 สำเร็จวิชาสามัญศึกษา (ป.4) จากโรงเรียนวัดคิริวิหาร ตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด
  • พ.ศ. 2495 สอบได้นักธรรมชั้นเอก ในสนามหลวงสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
  • พ.ศ. 2515 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในสนามหลวงสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

ลำดับสมณศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2541 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมกวี ศรีธรรมประยต วิสุทธิญาณนายก ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]

ตำแหน่งงานปกครองคณะสงฆ์[แก้]

  • เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร[9]
  • เป็นกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร
  • เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
  • เป็นผู้อำนวยการศึกษา สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
  • เป็นเจ้าคณะขาบบวร-เขียวบวร
  • เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม[10]
  • เป็นกรรมการเถรสมาคมธรรมยุต
  • เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ (ธรรมยุต)
  • เป็นอนุกรรมการฝ่ายการปกครอง ของมหาเถรสมาคม
  • เป็นพระอุปัชฌาย์
  • เป็นกรรมการสนามหลวง แผนกบาลี
  • เป็นแม่กองธรรมสนามหลวง
  • เป็นกรรมการฝ่ายศาสนศึกษา ของมหาเถรสมาคม
  • เป็นรองประธานกรรมการฝ่ายศาสนศึกษา ของมหาเถรสมาคม
  • เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กรรมการฝ่ายศาสนศึกษา ของมหาเถรสมาคม
  • เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต[11]
  • เป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[12]
  • เป็นประธานคณะสนองงานในสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่20[13]

หน้าที่[แก้]

  • เป็นผู้ตรวจสอบการคำนวณปฏิทินหลวง (ปฏิทินจันทรคติไทย) และให้คำแนะนำ ก่อนประกาศใช้ในแต่ละปี
  • เป็นกรรมการชำระพระไตรปิฎก ฉบับเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 60 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • เป็นกรรมการชำระอรรถกถา ฉบับเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 60 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
  • เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เป็นผู้แสดงพระธรรมเทศนา ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล, งานพระราชพิธีฯ ในบางโอกาส
  • เป็นผู้ถวายการสอนพระธรรมวินัยแด่พระ​บาท​สมเด็จ​พระวชิรเกล้าเจ้า​อยู่​หัว​ ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ในคราวผนวช เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
  • เป็นกรรมการกองตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เป็นหัวหน้ากองตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เป็นกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เป็นประธานคณะกรรมการตำราและวิชาการ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สนองงานถวายเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ที่ได้รับพระบัญชาในบางโอกาส

งานที่ได้รับมอบหมาย[แก้]

  • พ.ศ. 2541 - ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค 3 (ธรรมยุต) ในจังหวัดสิงห์บุรี, อ่างทอง, ลพบุรี
  • พ.ศ. 2541 - ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค 7 (ธรรมยุต) ในจังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2543 - ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค 12 (ธรรมยุต) ในจังหวัดจันทบุรี,ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค 13 (ธรรมยุต) ในจังหวัดปราจีนบุรี
  • พ.ศ. 2545 - ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค 8 (ธรรมยุต), รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี (ธรรมยุต)

อ้างอิง[แก้]

  • มงคลข่าวสด. (2551,21 กันยายน). อายุวัฒนมงคล72 ปี พระพรหมมุนี.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก<http://news.sanook.com/crime/crime_305840.php>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กรกฎาคม 2552).
  1. "สมเด็จพระสังฆราชถวายสมเด็จพระวันรัต ปฏิบัติหน้าที่เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุตแทน". พัดยศ สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย. 20 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. มส.ตั้ง 5 สมเด็จ ช่วยสนองงานให้พระสังฆราช
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 91, ตอนที่ 229, 31 ธันวาคม 2517, หน้า 7
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 105, ตอนที่ 207, 9 ธันวาคม 2531, หน้า 3
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 109, ตอนที่ 101, 12 สิงหาคม 2535, หน้า 5
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 115, ตอนที่ 24 ข, 9 ธันวาคม 2541, หน้า 4
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 117, ตอนที่ 28 ข, 28 ธันวาคม 2543, หน้า 2
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 127, ตอนที่ 7 ข, 9 กรกฎาคม 2553,หน้า 3-5
  9. "เสนอแต่งตั้ง สมเด็จพระวันรัต ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร" (PDF). สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. 21 ธันวาคม 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. การเสนอขอแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายปกครองของมหาเถรสมาคม เก็บถาวร 2020-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๖/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน๒๕๔๕ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า ตามที่ที่ประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๕
  11. "เสนอแต่งตั้งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต" (PDF). สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. 21 ธันวาคม 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. สมเด็จพระสังฆราชทรงรับทราบและทรงเห็นชอบการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เก็บถาวร 2020-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, การประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๓/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๗
  13. "มส.ตั้ง 5 สมเด็จ ช่วยสนองงานให้พระสังฆราช". www.thairath.co.th. 2020-07-31.


ก่อนหน้า สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) ถัดไป
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ไฟล์:ธรรมยุตินิกาย.gif
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
(พ.ศ. 2558 – พ.ศ. 2560)
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)
พระสุธรรมาธิบดี
(เพิ่ม อาภาโค)
ไฟล์:ตราแผนกธรรม.gif
แม่กองธรรมสนามหลวง
(พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2559)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน)