ฮิมิโกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮิมิโกะ
ราชินีแห่งยามาไตโคกุ
ครองราชย์
  • ค.ศ. 189–248 (58 ปี)
ถัดไปโทโยะ
ประสูติป. ค.ศ. 170
ยามาไต ญี่ปุ่น
สวรรคตค.ศ. 248 (อายุ 78)
นาระ (ญี่ปุ่น)
ฝังพระศพมูนดินฝังศพฮาชิฮากะโคฟุง (箸墓古墳)

ฮิมิโกะ (卑弥呼 (ひみこ); Himiko; ประสูติ ป. ค.ศ. 170–248) หรือ ชิงงิวาโอ (親魏倭王; "กษัตริย์แห่งวะ", "สหายแห่งเวย์")[1][a][b] เป็นคนทรงและราชินีแห่งยามาไตโคกุในวาโกกุ (倭国) ชุดพงศาวดารจีนตอนต้นบันทึกความสัมพันธ์เชิงเครื่องบรรณาการระหว่างราชินีฮิมิโกะและอาณาจักรเวย์ (ค.ศ. 200–265) และบันทึกว่า ชาวยาโยอิเลือกเธอเป็นผู้ปกครองหลังการสงครามกว่าทศวรรษระหว่างกษัตริย์แห่งวะ

มีการถกเถียงทางวิชาการอย่างหนักตั้งแต่ยุคเอโดะตอนปลายเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของฮิมิโกะและตำแหน่งของนครที่เธอปกครองอยู่ (ยามาไต) โดยมีความคิดเห็นแบ่งออกเป็นระหว่างคีวชูตอนเหนือหรือแคว้นยามาโตะโบราณซึ่งคือคิงกิในปัจจุบัน เคอิจิ อิมามูระ กล่าวว่า "ปัญหายามาไต" (Yamatai controversy) เป็น "การถกเถียงประวัติศาสตร์โบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น"[4] มุมมองในปัจจุบันของนักวิชาการระบุว่าร่างของฮิมิโกะอาจถูกฝังอยู่ที่ฮาชิฮากะโคฟุงในจังหวัดนาระ[5]

หมายเหตุ[แก้]

  1. การออกเสียงภาษาจีนกลาง (ZS): *t͡sʰiɪn-ŋʉiH-ʔuɑ-ɦʉɐŋ; ภาษาจีนฮั่นตะวันออก: *tsʰin-ŋuiC-ʔuɑi-wɑŋ[2][3]
  2. ในภาษาญี่ปุ่น 親, (shin) ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยคำเติมหน้า หมายถึง "เป็นมิตรต่อ" เช่นในคำว่า 親米 (shinbei, "สนับสนุนอเมริกา") ขณะที่ 王 (Ō, "กษัตริย์") ในทำนองเดียวกันกับคำอื่น ๆ สำหรับผู้ปกครองในเขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกนั้นสามารถใช้ได้โดยไม่คำนึงถึงเพศของผู้ปกครอง ด้วยเหตุนี้ 倭王 (waō) จึงสามารถแปลอย่างเฉพาะเจาะจงเป็น "ราชินีแห่งวะ" ได้

อ้างอิง[แก้]

  1. 研究社新和英大辞典 [Kenkyusha's New Japanese-English Dictionary] (ภาษาญี่ปุ่น). Kenkyūsha.
  2. Schuessler, Axel. (2009). Minimal Old Chinese and Later Han Chinese. Honolulu: University of Hawai'i (2009). p. 322, 291, 221, 80
  3. Bentley, John. "The Search for the Language of Yamatai" in Japanese Language and Literature (42.1), p. 10 of pp. 1-43.
  4. Imamura 1996, p. 188.
  5. Shillony, Ben-Ami (2008-10-15). The Emperors of Modern Japan (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 15. ISBN 978-90-474-4225-7.
  • Imamura, Keiji (1996). Prehistoric Japan: New Perspectives on Insular East Asia. University of Hawai’i Press.